ประวัติหลวงปู่สรวง ของ หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน

หลวงปู่สรวงเกิดเมื่อใดและอายุเท่าใดนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด เพียงแต่รับรู้กันว่าเป็นชาวเขมรกัมพูชา ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยนานแล้ว และมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 มีผู้ยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวงตั้งแต่ยังเด็กซึ่งในจำนวนนั้นมีพระเถระสำคัญอยู่หลายท่านเช่น หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฏ์บำรุง หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง ต่างยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวงตั้งแต่ตัวเองยังเด็ก[3] นอกจากนั้นยังได้รับการเล่าขานจากคนแก่เฒ่าที่อยู่ชายป่าบ้านตะเคียนราม และพระสงฆ์ในวัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ บริเวณตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และหมู่บ้านต่างๆตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งเป็นผู้ที่เคยพบเห็นหลวงปู่สรวงปัจจุบันมีอายุ 80 ปีขึ้นไป ต่างบอกว่าเคยเห็นท่านตั้งแต่ตัวเองยังเป็นเด็ก 7 - 8 ขวบ หลวงปู่ท่านก็มีสภาพแก่ชราแบบนี้มานานแล้วจากคำบอกเล่าของรุ่นปู่รุ่นย่าของผู้บอกเล่า จนถึงวันที่ท่านละสังขารก็มีสภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

หลวงปู่สรวงเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สมถะ มีอุเบกขาสูง หลวงปู่สรวงจะจําวัดอยู่ตามกระท่อมเถียงนาของชาวบ้าน มีกระดานไม้ปูแค่พอนอนได้ ทุกแห่งที่หลวงปู่จําวัดจะมีเสาไม้สูงปักอยู่ มีเชือกขาวซึ่งระหว่างกระท่อมเสาไม้หรือต้นไม้ข้างเคียงจะมีว่าวขนาดใหญ่ ที่บุด้วยจีวรหรือกระดาษแขวนไว้เป็นสัญลักษณ์ ที่ขาดไม่ได้คือจะต้องให้ลูกศิษย์ก่อกองไฟไว้เสมอ บางครั้งลูกศิษย์ เอาสิ่งของมาถวายท่านก็มักจะโยนเข้ากองไฟ ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกขานท่านว่า “ลูกเอ็อวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระ ดาบสที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำตามป่าเขา)[4] เรื่องราวของหลวงปู่สรวง เต็มไปด้วยเรื่องราวปาฏิหารย์และความลี้ลับ เหนือโลก เกินกว่าที่ผู้คนส่วนใหญ่จะรับรู้และเข้าใจ

ใกล้เคียง